Photo Gallery หูกวาง
     
   
ดอก
 
ผล
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :Terminalia  catappa  L.
    ชื่อวงศ์ :COMBRETACEAE
    ชื่อสามัญ :Bengal Almond , Tropical Almond ,
Umbrella Tree
   

ชื่อไทย :หูกวาง

    ชื่ออื่น :ดัดมือ  หลุมปัง  โคน  ตาปัง
   

นิเวศวิทยา  
       ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบได้ทั่ว ๆ ไป  ตามป่าหาดทรายริมทะเล  และหาดหิน


   
   
การขยายพันธุ์       เมล็ด
 
ลักษณะทั่วไป   เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 20 เมตร  ผลัดใบ  เรือนยอดแผ่กว้างทรงรูปร่ม 
ทรงพุ่มทึบ  กิ่งแตกออกจากลำต้นในลักษณะตั้งฉากกับลำต้นหรือเป็นแนวนอนขนานพื้นดินออกไปรอบ ๆ
ลำต้นในตำแหน่งเดียวกัน  มองดูทรงพุ่มของกิ่งเป็นชั้น ๆ คล้าย ๆ ฉัตร  ลำต้นเปลาตรง 
ต้นที่มีอายุมากและขนาดใหญ่จะเป็นพูพอนที่โคนต้นชัดเจน
   
  เปลือก   สีเทาปนน้ำตาลเกือบเรียบ  แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง  และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ทั่วไป
   
  ใบ     ใบเดี่ยว  ออกเรียงเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง  แผ่นใบรูปไข่กลับกว้าง  10 - 15  เซนติเมตร   ยาว 15 - 25  เซนติเมตร  ปลายใบกว้างกว่าโคนใบ  แหลมคอดเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม  มีต่อมเล็ก ๆ 2 ต่อมอยู่ที่โคนใบบริเวณท้องใบ   ขอบใบเกือบเรียบเป็นคลื่นหยักเล็กน้อย   ใบอ่อนมีเขียวอ่อนใบแก่สีเขียวเข้ม แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อใกล้ร่วงหรือผลัดใบ
   
 

ดอก  สีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน ๆ ขนาดเล็ก  มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย  ออกเป็นช่อเชิงลด  ตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง  ช่อดอกยาว 10 - 12 เซนติเมตร  กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด  ปลายแยกออกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก  ไม่มีกลีบดอก  มีเกสรเพศผู้  10  อัน   ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.4 - 0.6  เซนติเมตร

   
 

ผล   รูปไข่รีหรือแบนเล็กน้อย  ด้านข้างเป็นแผ่นหรือเป็นสันบาง ๆ นูนออกรอบผล แข็ง  กว้าง 3 - 5 เซนติเมตร  ยาว 4 - 6 เซนติเมตร  ผลอ่อนสีเขียว  ผลแก่สีเหลือง 
แห้งเป็นสีน้ำตาลคล้ำ

   
  เมล็ด  รูปไข่หรือรี   แบนป้อมเล็กน้อยคล้ายกับผล  เมื่อเมล็ดแห้งมีสีน้ำตาล  แข็ง  ภายในมีเนื้อมาก
     
     
 

ประโยชน์      
           
เปลือกและผลมีรสฝาด   เพราะมีสารแทนนินมาก  ใช้แก้ท้องเสีย  ย้อมผ้า  และหนังสัตว์และทำหมึก  เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนสิ่งก่อสร้าง  ทำฟืนและถ่าน  ใบแก่แช่น้ำใช้รักษาบาดแผลของปลาสวยงาม  เช่น  ปลากัด  เมล็ดรับประทานได้  ให้น้ำมันคล้ายน้ำมันจากผลอัลมอนด์  ใบอ่อนใช้เป็นยาขับเหงื่อแก้ต่อมทอลซิลอักเสบ  ไขข้ออักเสบ


     

   
       
  บริเวณที่ปลูก    ด้านหน้าอาคาร 5    
     
 

หูกวางเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด

 

 

   

เรียบเรียงและถ่ายภาพ โดย รศ.ชนะ วันหนุน